เมื่อวันพุธที่ 18 กันยายน 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.สุภกร พงศบางโพธิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิตติมา กาวีระ คณบดีคณะศิลปศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัชระ แลน้อย ผู้ช่วยอธิการบดี ดร.จารุกัญญ์ จิตรวงศ์นันท์ ประธานหลักสูตรสาขาภาษาฝรั่งเศส คณะศิลปศาสตร์ และ นางสาวกัลวรา ภูมิลา ผู้อำนวยการกองบริการการศึกษา ให้การต้อนรับ Dr. Ludovic ANDRES ตำแหน่ง Attaché for Scientic and Higher Education Cooperation Ms. Roxanc POITOU ตำแหน่ง Head of Campus France Thailand, French Embassy Ms. Sujira PANYAWATTANA, Student Advisor-Campus France, French Embassy และ Mr.Johan BROC ตำแหน่ง Cooperation Officer for Science and Higher Education สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศส ประจำประเทศไทย โดยศูนย์แนะแนวศึกษาต่อประเทศฝรั่งเศส ในโอกาสมาเยือนมหาวิทยาลัยพะเยา ณ ห้องประชุมห้องอธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา ชั้น 2 อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยพะเยา
โดย สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศส ประจำประเทศไทย โดยศูนย์แนะแนวศึกษาต่อประเทศฝรั่งเศส ได้จัดบรรยายพิเศษในกิจกรรม Campus France Tour 2024 ใน 2 หัวข้อ คือ
- Studies in France and Scholarships สำหรับนิสิต
- Fellowship and Mobility Programs สำหรับคณาจารย์และนักวิจัย
เพื่อแนะนำแนวทางการศึกษาต่อในประเทศฝรั่งเศสโดยทุนรัฐบาลประเทศฝรั่งเศส สำหรับนิสิต คณาจารย์ และนักวิจัย ผู้สนใจไปศึกษาต่อ ณ ประเทศฝรั่งเศส โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมรับฟังการบรรยายครั้งนี้ จำนวน 70 คน ณ ห้อง Active Learning CE07102 อาคารเรียนรวม มหาวิทยาลัยพะเยา
วันพุธที่ 12 มิถุนายน 2567 กองบริการการศึกษา โดย นางสาวกัลวรา ภูมิลา ผู้อำนวยการกองบริการการศึกษา เข้ารับเกียรติบัตรเชิดชูเกียรติ หน่วยงานต้นแบบ ที่มีผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยพะเยา (UP Integrity and Transparency Assessment: UP ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ผลคะแนนระดับ “ผ่านดีเยี่ยม" จาก รองศาสตราจารย์ ดร.สุภกร พงศบางโพธิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา ในที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินงานบริหารความเสี่ยง การควบคุมภายใน และความโปร่งใส มหาวิทยาลัยพะเยา ครั้งที่ 13 (3/2567) ณ ห้องประชุมอาคารโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) มหาวิทยาลัยพะเยา
วันอังคารที่ 4 มิถุนายน 2567 กองบริการการศึกษา จัดกิจกรรมต้อนรับฟ้ามุ่ยช่อที่ 14 โครงการเตรียมความพร้อมด้านวิชาการและทักษะการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยของนิสิตชั้นปีที่ 1 โดยมี อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา รองอธิการบดี คณบดีคณะ/วิทยาลัย และผู้บริหารมหาวิทยาลัยพะเยา ให้เกียรติร่วมต้อนรับนิสิตใหม่ปีการศึกษา 2567 อย่างอบอุ่นและเป็นกันเอง ณ ห้อง UB003 อาคาร 99 ปี พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ และ ได้ถ่ายทอดสัญญาณภาพและเสียงกิจกรรมฯ ไปยังอาคารเรียนต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยพะเยา
โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุภกร พงศบางโพธิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา ได้กล่าวต้อนรับนิสิตใหม่ฟ้ามุ่ยช่อที่ 14 และบรรยายเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยพะเยาที่มุ่งมั่นในการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนานิสิตให้มีสมรรถนะและทักษะแห่งอนาคต จากนักเรียนสู่นิสิตและเป็นบัณฑิตพร้อมทำงาน หลังจากนั้น รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชลธิดา เทพหินลัพ และ รองอธิการบดีฝ่ายคุณภาพนิสิต ดร.วุฒิชัย ไชยรินคำ ร่วมบรรยาย เรื่อง การเรียนและการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยพะเยา ถัดมาเป็นการแนะนำหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับนิสิตในการเรียน และการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย ได้แก่ กองบริการการศึกษา, กองพัฒนาคุณภาพนิสิตและนิสิตพิการ , กองกิจการนิสิต และแนะนำผู้นำนิสิตประจำปี 2567 ได้แก่ นายกองค์การนิสิต, ประธานสภานิสิต, ประธานสหเวียง , ประธานสารวัตรนิสิต ต่อมาเป็นการแนะนำการทดสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษ ผ่านระบบ Neo+ โดย รองคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษ คณะศิลปศาสตร์ ดร.ชนาภา ดวงไฟ
ช่วงสุดท้าย กิจกรรม Study-Life Balance ปรับสมดุลชีวิตการเรียน โดยมีศิษย์เก่า นายจุติบดี จันทรางศุ หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์ คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ และทพญ. ณัฐปภัสร์ ชยุตพงศ์ หลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต คณะทันตแพทยศาสตร์ ศิษย์ปัจจุบัน นายวีรภัทร์ สินธุวงศ์ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจและนิเทศศาสตร์ มาร่วมพูดคุยเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับนิสิตใหม่ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วัชระ แลน้อย ผู้ช่วยอธิการบดี และ อาจารย์อุดมศักดิ์ จิรกาลกุลเกษม เป็นผู้ดำเนินรายการ
การจัดกิจกรรมต้อนรับฟ้ามุ่ยช่อที่ 14 ภายใต้โครงการเตรียมความพร้อมด้านวิชาการและทักษะการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยของนิสิตชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2567 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นิสิตชั้นปีที่ 1 ได้เตรียมความพร้อมด้านทักษะการใช้ชีวิต อันจะนำไปสู่การปรับตัวในการเรียนในมหาวิทยาลัย รวมทั้งเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างนิสิตกับผู้บริหาร คณาจารย์ และเพื่อนอีกด้วย
นอกจากนี้ อธิการบดีและผู้บริหารมหาวิทยาลัยพะเยา ยังได้ร่วมพบปะพูดคุยกับนิสิตใหม่ทุกคณะ/วิทยาลัย ที่เข้าร่วมกิจกรรม ณ ห้องย่อยอื่นๆ ภายใน อาคาร 99 ปี พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ , อาคารเรียนรวมหลังใหม่ และ อาคารเรียนร่วมหลังเก่า โดยมีนิสิตเข้าร่วมโครงการฯ มากกว่า 5,000 คน
ภาพ: ธาราทิพย์ สูงขาว, ปราการ บุญมาวงค์
ข่าว: สุมิตรา อินทะ
วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤษภาคม 2567 เวลา 08.30-16.00 น. กองบริการการศึกษาจัดโครงการพัฒนาบุคลากรสายวิชาการ โครงการพัฒนาบุคลากรสายวิชาการ หัวข้อ การใช้ GenAi และ Technology เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ โดยมี ผู้ช่วยอธิการบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัชระ แลน้อย กล่าวเปิดโครงการ และได้รับเกียรติจาก ดร.พฤทธิ์ พุฒจร สำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เป็นวิทยากรบรรยายเชิงปฏิบัติการ โดยในช่วงเช้าเป็นการบรรยาย หัวข้อ หลักการทำงานของ GenAi และ Technology และการประยุกต์การใช้งานในเบื้องต้น และช่วงบ่าย เป็น กิจกรรม Workshop การสร้างสื่อคอนเทนต์ดิจิทัล ซึ่งการจัดโครงการในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรสายวิชาการสามารถนำ GenAi มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน การวิจัย และสามารถสร้างสื่อคอนเทนต์ดิจิทัลสมัยใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยผู้เข้าร่วมโครงการประกอบด้วย บุคลากรสายวิชาการ จำนวนทั้งสิ้น 100 คน ณ ห้องประชุมเมืองพะเยา (ICT 1247) อาคารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา
สหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน
(Cooperative and Work Integrated Education : CWIE)
ความเป็นมาของสหกิจศึกษา
คำว่า “สหกิจศึกษา” (Cooperative Education) เป็นศัพท์บัญญัติที่ศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน ซึ่งเป็นบุคคลแรกที่นำระบบสหกิจศึกษาเข้ามาใช้ในประเทศไทย ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เมื่อปี พ.ศ. 2536 ได้บัญญัติขึ้นโดยถอดความจากคำว่า Cooperative Education มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ได้จัดการศึกษาระบบไตรภาคเพื่อรองรับการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาสองครั้ง คือ ชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4 มีภาคสหกิจศึกษาสลับกับภาคเรียนปกติ โดยนิสิตได้เริ่มไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษาครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2538 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นมหาวิทยาลัยยุคแรกเช่นกันที่จัดสหกิจศึกษา โดยเริ่ม ในปี พ.ศ. 2541 จากแนวคิดดังกล่าวได้ขยายไปสู่มหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชนอย่างกว้างขว้าง เช่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ได้จัดสหกิจศึกษาเป็นสามช่วงระยะเวลา คือ 4-2-4 เดือน รวม 10 เดือน โดยจัดในชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4 ทำให้ระยะเวลาเรียนในหลักสูตรสหกิจศึกษามากกว่าหลักสูตรปกติหนึ่งปีการศึกษา โดยสรุปอาจกล่าวได้ว่ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีเป็นสถานศึกษาเริ่มแรกที่ริเริ่มสหกิจศึกษาในประเทศไทย
ในปี พ.ศ. 2545 รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยในขณะนั้น (นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ) ได้ประกาศนโยบายให้การสนับสนุนด้านการเงินแก่สถาบันการศึกษาที่จัดสหกิจศึกษาโดยได้จัดสรรเงินอุดหนุนเป็นรายหัวให้แก่สถาบันการศึกษา 17 แห่ง ที่จัดการเรียนการสอนโดยใช้หลักสูตรสหกิจศึกษา และให้ใช้หลักสูตรสหกิจศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีเป็นต้นแบบ จากนั้น สหกิจศึกษาได้ขยายสู่ระดับชาติโดยรัฐบาลได้ก้าวเข้ามาสนับสนุนผ่านทางทบวงมหาวิทยาลัยและสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาเป็นภาคีสำคัญของภาครัฐ
การดำเนินงานสหกิจศึกษาในช่วงเริ่มต้นอยู่ในรูปแบบของทวิภาคี คือ สถานศึกษาร่วมมือกับสถานประกอบการ โดยภาครัฐมิได้เข้ามาเกี่ยวข้องโดยตรง หากแต่มีหน่วยงานภาคเอกชน อาทิ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและสภาหอการค้าไทยที่ได้สนับสนุนสหกิจศึกษา ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีในระยะเริ่มต้น การดำเนินสหกิจศึกษาได้พัฒนาเข้าสู่ลักษณะพหุภาคีเมื่อปี พ.ศ. 2545 กล่าวคือ มีหน่วยงานหลายภาคส่วนได้ร่วมกันรับผิดชอบดำเนินงานสหกิจศึกษา ได้แก่ สถานศึกษา สถานประกอบการ หน่วยงานของรัฐ คือ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ที่ทำหน้าที่ดูแลนโยบายและให้การสนับสนุนด้านการเงิน องค์กรเอกชน เช่น สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าไทย สมาคมวิชาการในประเทศไทย ได้แก่ สมาคมสหกิจศึกษาไทย (Thai Association for Cooperative Education: TACE) และสมาคมวิชาการระดับนานาชาติ ได้แก่ สมาคมสหกิจศึกษาโลก (World Association for Cooperative Education: WACE) นับว่าการจัดการศึกษาสหกิจศึกษาของประเทศ ในปัจจุบันมีภาคีต่างๆ เข้ามามีบทบาทครบทุกภาคส่วนในลักษณะเครือข่ายพหุภาคี
ความสำคัญและประโยชน์ของสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน
การจัด CWIE ตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันทำให้การจัดการศึกษาในรูปแบบนี้ได้รับการยอมรับและทวีความสำคัญมากขึ้นมีสถาบันอุดมศึกษาในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ใช้ CWIE เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของการจัดการศึกษาระดับปริญญากว้างขวางขึ้นในเกือบจะทุก สาขาวิชา โดยมีเป้าประสงค์ตรงกัน คือ “การเสริมคุณภาพบัณฑิต” ผ่านประสบการณ์การทำงานในสถานประกอบการทั้งของรัฐ เอกชน ชุมชน และท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาคุณภาพบัณฑิตตามมาตรฐานวิชาการและวิชาชีพ ตรงตามความต้องการองค์กรผู้ใช้บัณฑิตและตลาดแรงงาน ถือเป็น ส่วนสำคัญของการสร้างบัณฑิตให้พร้อมที่จะเลือกวิชาชีพและเข้าสู่ระบบการทำงานได้ทันทีที่จบ การศึกษา ทำให้บัณฑิต CWIE มีทั้ง “วิชาชีพ และ วิชาชีวิต” ที่ช่วยให้บัณฑิต “รู้จักตน รู้จักคน รู้จัก งาน” จากประสบการณ์ทำงานจริงโดยทุกฝ่ายที่ร่วมจัดต่างได้รับประโยชน์เท่าที่ประมวลได้จากการดำเนินงาน CWIE ในประเทศไทยในสองทศวรรษที่ผ่านมาได้ดังต่อไปนี้
ใครได้ประโยชน์จากสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน ประมวลได้จากผลการดำเนินงานสหกิจศึกษา ฯ ในประเทศไทยของสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ดังต่อไปนี้
นิสิต
1.1ได้ประสบการณ์วิชาชีพตรงตามสาขาวิชาที่เลือกเรียน
1.2 มีผลการเรียนหลังการปฏิบัติ CWIE ดีขึ้น
1.3 เกิดการพัฒนาตนเอง มั่นใจในตนเองมากขึ้น
1.4 เกิดทักษะการสื่อสาร รายงานข้อมูล
1.5 มีโอกาสได้รับการเสนองานก่อนสำเร็จการศึกษา
1.6 เลือกสายงานอาชีพได้ถูกต้อง
1.7ได้รับค่าตอบแทนขณะศึกษา
1.8 เป็นบัณฑิตที่มีศักยภาพและความพร้อมในการทำงานสูง
สถาบันการศึกษา
2.1 เกิดความร่วมมือทางวิชาการและความสัมพันธ์อันดีกับสถานประกอบการ
2.2 ได้ข้อมูลย้อนกลับมาปรับปรุงหลักสูตรและการเรียนการสอน
2.3 ช่วยให้สถาบันอุดมศึกษาได้รับการยอมรับจากตลาดแรงงาน
2.4 เป็นกระบวนการหนึ่งในการพัฒนาคณาจารย์ให้สามารถนำประสบการณ์
2.5 การนิเทศและการปฏิบัติงานกับสถานประกอบการมาพัฒนาการเรียน
2.6 การสอนและต่อยอดภารกิจด้านการวิจัยและบริการทางวิชาการ
สถานประกอบการ
3.1 มีนักศึกษาช่วยปฏิบัติงานตลอดปี
3.2 พนักงานประจำมีเวลาที่จะทำงานสำคัญได้มากขึ้น
3.3 ใช้เป็นวิธีคัดเลือกพนักงานได้ถูกต้องเหมาะสมยิ่งขึ้น ทำให้ได้แรงงานที่มี
3.4 สมรรถนะสอดคล้องกับความต้องการ
3.5 มีโอกาสสร้างความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันอุดมศึกษาด้านอื่น ๆ เพิ่มขึ้น
3.6 เกิดภาพพจน์และผลกระทบที่ดีด้านการส่งเสริมการอุดมศึกษา
บทบาทหน้าที่ของนิสิตสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน
1.นิสิตสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน ซึ่งมีคุณสมบัติตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด จะต้องเข้าร่วมโครงการเตรียมความพร้อมนิสิตสหกิจศึกษา ก่อนไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน โดยมีเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว่า 30 ชั่วโมง ประกอบด้วยกิจกรรมของมหาวิทยาลัย 12 ชั่วโมง และกิจกรรมของคณะ/วิทยาลัย 18 ชั่วโมง
2. นิสิตสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงานต้องบันทึกรายงานการปฏิบัติงานประจำวันหรือสัปดาห์
3. นิสิตสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน ต้องกรอกข้อมูลและจัดส่งข้อมูลสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงานกลับมายังมหาวิทยาลัยพะเยาภายในระยะเวลาที่กำหนด
4. นิสิตสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน ต้องส่งรายงานฉบับสมบูรณ์ให้อาจารย์นิเทศและพนักงานที่ปรึกษาก่อนเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานและต้องแก้ไขตามที่อาจารย์นิเทศแนะนำให้เรียบร้อย
5. นิสิตสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน ต้องส่งรายงานฉบับสมบูรณ์ที่ได้รับการอนุญาตให้เผยแพร่ ได้จากสถานประกอบการให้อาจารย์นิเทศและพนักงานที่ปรึกษา
6. สัปดาห์สุดท้ายของการปฏิบัติสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงานควรนำเสนอผลการปฏิบัติงานต่อพนักงานที่ปรึกษาและผู้บริหารสถานประกอบการ
7. นิสิตสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน ต้องนำเสนอผลการปฏิบัติสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน ในการสัมมนาสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน ระหว่างอาจารย์นิเทศ และนิสิตสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงานของแต่ละกลักสูตรหลังกลับจากการปฏิบัติการสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน
คุณสมบัติของนิสิตสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน
คณะ/วิทยาลัย จะเป็นผู้คัดเลือกนิสิตที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้เป็นนิสิตสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน
1. มีความประพฤติเรียบร้อย ไม่เคยผิดระเบียบวินัยนิสิต โดยคณะ/วิทยาลัย เป็นผู้รับรอง
2. มีวุฒิภาวะและการพัฒนาตนเองได้ดีเพียงพอที่จะปฏิบัติงานได้ในสถานประกอบการ
3. มีความรู้ทางวิชาการดี และมีผลการเรียนไม่ต่ำกว่า 2.00
4. จะต้องสอบผ่านรายวิชาพื้นฐานที่คณะกำหนด
5. ปฏิบัติตามเงื่อนไขและกระบวนการสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงานอย่างครบถ้วน
6. เป็นไปตามเงื่อนไขที่คณะและสาขาวิชาเป็นผู้กำหนด
แนวทางการป้องกันระหว่างปฏิบัติสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน
ระหว่างปฏิบัติสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน หากสถานที่ปฏิบัติสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน หรือสถานประกอบการมีการปฏิบัติงานเกินกว่าเวลาที่กฎหมายกำหนด ปฏิบัติงานอันตรายและต้องห้าม ไม่คำนึงถึงสภาพร่างกายและจิตใจ จนถึงก่อให้เกิดทุพพลภาพ รวมไปถึงการถูกเอาเปรียบด้านค่าตอบแทน ตลอดจนถึงการคุกคามทางเพศ (Sexual Harassment) ให้นิสิตที่ปฏิบัติสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน แจ้งอาจารย์ปรึกษาสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงานเพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหา
วันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2567 เวลา 13.00 น. รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชลธิดา เทพหินลัพ มอบหมายให้ ผู้ช่วยอธิการบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัชระ แลน้อย พร้อมด้วย หัวหน้างานทะเบียนนิสิต หัวหน้างานพัฒนาหลักสูตร หัวหน้างานสนับสนุนวิชาการ หัวหน้างานวิเทศสัมพันธ์ หัวหน้างานพัฒนาระบบสารสนเทศทางวิชาการ หัวหน้างานธุรการหัวหน้างานรับเข้า และบุคลากรกองบริการการศึกษา ให้การต้อนรับคณะศึกษาดูงานจาก สำนักงานทะเบียนนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำโดย รองผู้อำนวยการฝ่ายยุทธศาสตร์และพัฒนาองค์กร รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงไกร วัฒนาสวัสดิ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายดิจิทัลและนวัตกรรมบริการ ดร.นพธนิษฐ์ โชติสาร หัวหน้างาน และบุคลากร เข้าศึกษาดูงาน “ระบบการให้บริการทางการศึกษาที่สนับสนุนการปฏิบัติงาน” ณ ห้องประชุมชูชาติ กีฬาแปง ตึกสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยพะเยา
วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม 2567 เวลา 08.30-16.00 น. กองบริการการศึกษาจัดโครงการพัฒนาบุคลากรสายวิชาการ เรื่อง การออกแบบพื้นที่การเรียนรู้ (Design of Learning Space) CURRICULUM " โดยมี ผู้ช่วยอธิการบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัชระ แลน้อย กล่าวเปิดโครงการ และได้รับเกียรติจาก ดร.ขวัญนภา สุขคร ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง ลำปาง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ป็นวิทยากรบรรยายเชิงปฏิบัติการ โดยในช่วงเช้าเป็นการบรรยาย เรื่อง “แนวคิดการออกแบบพื้นที่การเรียนรู้” และช่วงบ่าย เป็น กิจกรรมกลุ่ม Workshop “การออกแบบพื้นที่การเรียนรู้ที่เชื่อม คน-ชุมชน” ซึ่งการจัดโครงการในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรสายวิชาการสามารถออกแบบพื้นที่การเรียนรู้ที่เหมาะสมกับเป้าหมายและกิจกรรมของรายวิชา
โดยผู้เข้าร่วมโครงการประกอบด้วย บุคลากรสายวิชาการ จำนวนทั้งสิ้น 60 คน ณ ห้องประชุมเมืองพะเยา (ICT 1247) อาคารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา
วันศุกร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชลธิดา เทพหินลัพ พร้อมด้วย ผู้อำนวยสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.น้ำเงิน จันทรมณี ผู้ช่วยอธิการบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัชระ แลน้อย ผู้อำนวยการกองบริการการศึกษา และอาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ให้การต้อนรับคณะศึกษาดูงานจากมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี นำโดย ดร.ศิศิรา ดอนสมัคร ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ และบุคลากร เข้าศึกษาดูงานเกี่ยวกับการบริหารจัดการหมวดวิชาศึกษาทั่วไป และบัณฑิตศึกษา ณ ห้องประชุมชูชาติ กีฬาแปง และช่วงบ่ายคณะศึกษาดูงานฯ เข้าเยี่ยมชมระบบบริหารจัดการหมวดวิชาศึกษาทั่วไป โดยมี งานส่งเสริมสมรรถนะและทักษะการทำงาน และงานพัฒนาระบบสารสนเทศทางวิชาการ นำเสนอระบบบริหารจัดการหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ณ ห้องประชุมกองบริการการศึกษา
วันเสาร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2567 งานส่งเสริมสมรรถนะและทักษะการทำงาน กองบริการการศึกษา จัดโครงการอบรมเตรียมความพร้อมนิสิตสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน มหาวิทยาลัยพะเยา หัวข้อ ทักษะที่ต้องเตรียมความพร้อมก่อนการทำงาน โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัชระ แลน้อย ผู้ช่วยอธิการบดี และอาจารย์นวพร เกษสุวรรณ คณะบริหารธุรกิจและนิเทศศาสตร์ บรรยายในหัวข้อ “ทักษะที่ต้องเตรียมความพร้อมก่อนการทำงาน” โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นิสิตมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทักษะที่ต้องเตรียมความพร้อมก่อนการทำงาน และมีความพร้อมก่อนออกปฏิบัติงานสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงานในสถานประกอบการ ผู้เข้าร่วมโครงการประกอบด้วยนิสิตมหาวิทยาลัยพะเยา จำนวนทั้งสิ้น 550 คน ณ ห้อง UB 003 อาคาร 99 ปี พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ มหาวิทยาลัยพะเยา
วันศุกร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567 (ช่วงเช้า) กองบริการการศึกษา จัดกิจกรรมการเรียนการสอนในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป รายวิชา 003102 การพัฒนาทักษะและการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยมีผู้ช่วยอธิการบดี ผศ.ดร.วัชระ แลน้อย เป็นผู้ดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอน ได้รับเกียรติจาก คุณวิศรัฐ สมทรัพย์ CEO & FOUNDER EAZYLAW คุณศิริพร เป็งปานันท์ และคุณไอลดา หล้ามูลตา บรรยายในหัวข้อ “ทักษะทางการเงินและการวางแผนการเงิน” (Financial Planning) ให้กับนิสิตชั้นปีที่ 1 รหัส 66 จำนวนทั้งสิ้น 5,000 คน ณ ห้อง UB 001 – 005 อาคาร 99 ปี พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ มหาวิทยาลัยพะเยา