โครงการอบรมบุคลากรจังหวัดพะเยา หลักสูตรการยกระดับทุนทางวัฒนธรรมเ
พื่อสร้างมูลค่าเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืนภายใต้โครงการพัฒนาบุคลากร
เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนจังหวัดพะเยา
วันเสาร์ที่ 7 กันยายน 2567 กองบริการการศึกษา จัดโครงการอบรมบุคลากรจังหวัดพะเยา หลักสูตรการยกระดับทุนทางวัฒนธรรม เพื่อสร้างมูลค่าเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน ภายใต้โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนจังหวัดพะเยา โดยมี รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.ชลธิดา เทพหินลัพ กล่าวเปิดโครงการ และชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการ จากนั้นเป็นกิจกรรมออกแบบการยกระดับมูลค่าของวัฒนธรรมชุมชนโดยใช้ข้อมูลบริบท และสถานการณ์ของอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมชุมชน ร่วมกับกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design thinking) โดยทีมวิทยากร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อัมเรศ เทพมา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.น้ำเงิน จันทรมณี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัชระ แลน้อย ดร.จารุวรรณ โปษยานนท์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์กาญจนุรัตน์ ไมรินทร์ ดร.วิทวัส สัจจาพงศ์ อาจารย์นวพร เกษสุวรรณ อาจารย์กมลพงศ์ รัตนสงวนวงศ์ อาจารย์อุดมศักดิ์ จิรกาลกุลเกษม และอาจารย์บุรินทร์ บัณฑะวงศ์ ทั้งนี้ โครงการดังกล่าว ได้กำหนดการอบรม ระหว่างวันที่ 7 กันยายน 2567 ถึงวันที่ 5 ตุลาคม 2567
การจัดโครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรจังหวัดพะเยาได้รับรู้ถึงกระบวนการยกระดับมูลค่าของวัฒนธรรมชุมชนโดยใช้ข้อมูลบริบทและสถานการณ์ของอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมชุมชน โดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design thinking) และการวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ หรือบริการทางวัฒนธรรมชุมชน เพื่อนำไปสู่การสร้างมูลค่าเศรษฐกิจชุมชน ผู้เข้าร่วมโครงการประกอบด้วย บุคลากรจังหวัดพะเยา จำนวนทั้งสิ้น 39 คน ณ ห้องประชุม Waterside ชั้น 2 โรงแรม M2 Hotel Waterside จังหวัดพะเยา
วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม 2567 กองบริการการศึกษา ได้จัดการประชุมสรุปผลการดำเนินโครงการเสริมสร้างสุขภาวะที่ดีในองค์กร Good Health and Well – Being : BMI Challenge โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัชระ แลน้อย ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา เป็นประธานในการประชุม และมีผู้เข้าร่วมการประชุมประกอบด้วย ผู้อำนวยการกองบริการการศึกษา นางสาวกัลวรา ภูมิลา หัวหน้างาน และบุคลากรกองบริการการศึกษา ณ ห้องประชุมชูชาติ กีฬาแปง อาคารสำนักงาน
การประชุมดังกล่าวเป็นการสรุปผลโครงการเสริมสร้างสุขภาวะที่ดีในองค์กรฯ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 5 กุมภาพันธ์ – 30 มิถุนายน 2567 โดย นางวรรณนิสา คำสนาม หัวหน้างานธุรการ เป็นผู้นำเสนอสรุปผลโครงการฯ โดยในโครงการดังกล่าว มีการจัดการแข่งขัน 4 ประเภท คือ การแข่งขันสะสมระยะการเดิน/วิ่งออกกำลังกาย ประเภททีม , Healthy Food Contest ประเภททีม , การแข่งขันปิงปอง ประเภทชายเดี่ยว/หญิงเดี่ยว และ BMI CHALLENGE ประเภท ชาย/หญิง ซึ่งมีผลการแข่งขันตามตารางสรุปผล
การแข่งขันสะสมระยะการเดิน/วิ่งออกกำลังกาย ประเภททีม | |
รางวัลชนะเลิศ | งานรับเข้าศึกษา |
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 1 | งานพัฒนาระบบฯ |
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 2 | งานพัฒนาหลักสูตร / หน่วยตารางสอน |
Healthy Food Contest ประเภททีม | |
รางวัลชนะเลิศ | งานพัฒนาระบบสารสนเทศทางวิชาการ |
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 1 | งานส่งเสริมสมรรถนะและทักษะการทำงาน / งานสนับสนุนวิชาการ |
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 2 | งานทะเบียนนิสิต/งานวิเทศสัมพันธ์ |
การแข่งขันปิงปอง ประเภทหญิงเดี่ยว | |
รางวัลชนะเลิศ | ผู้อำนวยการกองบริการการศึกษา (นางสาวกัลวรา ภูมิลา) |
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 1 | นางสาวกฤตติรัตน์ ทองหล่อ |
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 2 | นางสาวสุมิตรา อินทะ |
การแข่งขันปิงปอง ประเภทชายเดี่ยว | |
รางวัลชนะเลิศ | นายณัทธวุฒิ ระวังยศ |
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 1 | นายพีระชาติ อูปแก้ว |
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 2 | นายอัศวิน ดวงปัญญารัตน์ |
BMI CHALLENGE ประเภทชาย | |
รางวัลชนะเลิศ | นายพลพิทักษ์ อินต๊ะสอน |
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 1 | นายพีรพงษ์ กีรติศักดิ์วรกุล |
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 2 | นายอัศวิน ดวงปัญญารัตน์ |
BMI CHALLENGE ประเภทหญิง | |
รางวัลชนะเลิศ | นางสาวจุรีย์พร ศักดิ์สุริยา |
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 1 | นางสาวญานิศา ทิพวะลี |
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 2 | นางสาววสุนันท์ ชัยชนะ |
โดยดำเนินการโครงการฯ ดังกล่าว มีประสงค์เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรภายในกองบริการการศึกษามีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อให้มีสุขภาพดี และเพื่อสนับสนุนการมุ่งสู่การเป็นองค์กรสุขภาพดีอย่างยั่งยืน
เมื่อวันพุธที่ 12 มิถุนายน 2567 ผู้ช่วยอธิการบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัชระ แลน้อย พร้อมด้วยผู้อำนวยการกองบริการการศึกษา นางสาวกัลวรา ภูมิลา และงานวิเทศสัมพันธ์ ได้นำนิสิตทุนพระราชทานภายใต้โครงการพระราชทานความช่วยเหลือแก่ราชอาณาจักรกัมพูชา (ด้านการศึกษา) ตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ปีการศึกษา 2567 ระดับปริญญาตรี จำนวน 6 คน เข้าพบอธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา รองศาสตราจารย์ ดร.สุภกร พงศบางโพธิ์ พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร ในการนี้ อธิการบดีได้กล่าวให้โอวาทแก่นิสิตพร้อมแนะนำการใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยพะเยา และได้มอบของที่ระลึกแก่นิสิตเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ ณ ห้องประชุมอธิการบดี มหาวิทยาลัยพะเยา
ซึ่งในปัจจุบันมีนิสิตกัมพูชาที่กำลังศึกษาอยู่ในคณะต่างๆของมหาวิทยาลัยพะเยา จำนวน 16 คน และสำเร็จการศึกษาแล้ว จำนวน 54 คน
วันพุธที่ 12 มิถุนายน 2567 กองบริการการศึกษา โดย นางสาวกัลวรา ภูมิลา ผู้อำนวยการกองบริการการศึกษา เข้ารับเกียรติบัตรเชิดชูเกียรติ หน่วยงานต้นแบบ ที่มีผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยพะเยา (UP Integrity and Transparency Assessment: UP ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ผลคะแนนระดับ “ผ่านดีเยี่ยม" จาก รองศาสตราจารย์ ดร.สุภกร พงศบางโพธิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา ในที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินงานบริหารความเสี่ยง การควบคุมภายใน และความโปร่งใส มหาวิทยาลัยพะเยา ครั้งที่ 13 (3/2567) ณ ห้องประชุมอาคารโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) มหาวิทยาลัยพะเยา
วันอังคารที่ 4 มิถุนายน 2567 กองบริการการศึกษา จัดกิจกรรมต้อนรับฟ้ามุ่ยช่อที่ 14 โครงการเตรียมความพร้อมด้านวิชาการและทักษะการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยของนิสิตชั้นปีที่ 1 โดยมี อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา รองอธิการบดี คณบดีคณะ/วิทยาลัย และผู้บริหารมหาวิทยาลัยพะเยา ให้เกียรติร่วมต้อนรับนิสิตใหม่ปีการศึกษา 2567 อย่างอบอุ่นและเป็นกันเอง ณ ห้อง UB003 อาคาร 99 ปี พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ และ ได้ถ่ายทอดสัญญาณภาพและเสียงกิจกรรมฯ ไปยังอาคารเรียนต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยพะเยา
โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุภกร พงศบางโพธิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา ได้กล่าวต้อนรับนิสิตใหม่ฟ้ามุ่ยช่อที่ 14 และบรรยายเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยพะเยาที่มุ่งมั่นในการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนานิสิตให้มีสมรรถนะและทักษะแห่งอนาคต จากนักเรียนสู่นิสิตและเป็นบัณฑิตพร้อมทำงาน หลังจากนั้น รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชลธิดา เทพหินลัพ และ รองอธิการบดีฝ่ายคุณภาพนิสิต ดร.วุฒิชัย ไชยรินคำ ร่วมบรรยาย เรื่อง การเรียนและการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยพะเยา ถัดมาเป็นการแนะนำหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับนิสิตในการเรียน และการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย ได้แก่ กองบริการการศึกษา, กองพัฒนาคุณภาพนิสิตและนิสิตพิการ , กองกิจการนิสิต และแนะนำผู้นำนิสิตประจำปี 2567 ได้แก่ นายกองค์การนิสิต, ประธานสภานิสิต, ประธานสหเวียง , ประธานสารวัตรนิสิต ต่อมาเป็นการแนะนำการทดสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษ ผ่านระบบ Neo+ โดย รองคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษ คณะศิลปศาสตร์ ดร.ชนาภา ดวงไฟ
ช่วงสุดท้าย กิจกรรม Study-Life Balance ปรับสมดุลชีวิตการเรียน โดยมีศิษย์เก่า นายจุติบดี จันทรางศุ หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์ คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ และทพญ. ณัฐปภัสร์ ชยุตพงศ์ หลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต คณะทันตแพทยศาสตร์ ศิษย์ปัจจุบัน นายวีรภัทร์ สินธุวงศ์ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจและนิเทศศาสตร์ มาร่วมพูดคุยเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับนิสิตใหม่ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วัชระ แลน้อย ผู้ช่วยอธิการบดี และ อาจารย์อุดมศักดิ์ จิรกาลกุลเกษม เป็นผู้ดำเนินรายการ
การจัดกิจกรรมต้อนรับฟ้ามุ่ยช่อที่ 14 ภายใต้โครงการเตรียมความพร้อมด้านวิชาการและทักษะการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยของนิสิตชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2567 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นิสิตชั้นปีที่ 1 ได้เตรียมความพร้อมด้านทักษะการใช้ชีวิต อันจะนำไปสู่การปรับตัวในการเรียนในมหาวิทยาลัย รวมทั้งเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างนิสิตกับผู้บริหาร คณาจารย์ และเพื่อนอีกด้วย
นอกจากนี้ อธิการบดีและผู้บริหารมหาวิทยาลัยพะเยา ยังได้ร่วมพบปะพูดคุยกับนิสิตใหม่ทุกคณะ/วิทยาลัย ที่เข้าร่วมกิจกรรม ณ ห้องย่อยอื่นๆ ภายใน อาคาร 99 ปี พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ , อาคารเรียนรวมหลังใหม่ และ อาคารเรียนร่วมหลังเก่า โดยมีนิสิตเข้าร่วมโครงการฯ มากกว่า 5,000 คน
ภาพ: ธาราทิพย์ สูงขาว, ปราการ บุญมาวงค์
ข่าว: สุมิตรา อินทะ
วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤษภาคม 2567 เวลา 08.30-16.00 น. กองบริการการศึกษาจัดโครงการพัฒนาบุคลากรสายวิชาการ โครงการพัฒนาบุคลากรสายวิชาการ หัวข้อ การใช้ GenAi และ Technology เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ โดยมี ผู้ช่วยอธิการบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัชระ แลน้อย กล่าวเปิดโครงการ และได้รับเกียรติจาก ดร.พฤทธิ์ พุฒจร สำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เป็นวิทยากรบรรยายเชิงปฏิบัติการ โดยในช่วงเช้าเป็นการบรรยาย หัวข้อ หลักการทำงานของ GenAi และ Technology และการประยุกต์การใช้งานในเบื้องต้น และช่วงบ่าย เป็น กิจกรรม Workshop การสร้างสื่อคอนเทนต์ดิจิทัล ซึ่งการจัดโครงการในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรสายวิชาการสามารถนำ GenAi มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน การวิจัย และสามารถสร้างสื่อคอนเทนต์ดิจิทัลสมัยใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยผู้เข้าร่วมโครงการประกอบด้วย บุคลากรสายวิชาการ จำนวนทั้งสิ้น 100 คน ณ ห้องประชุมเมืองพะเยา (ICT 1247) อาคารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา
วันพุธที่ 24 เมษายน 2567 กองบริการการศึกษา นำโดย รักษาการผู้อำนวยการกองบริการการศึกษา ดร.ณัฐพงษ์ พรมวงษ์ หัวหน้างานส่งเสริมสมรรถนะและทักษะการทำงาน และตัวแทนบุคลากรกองบริการการศึกษา ได้เข้าร่วมงาน “พิธีสระเกล้าดำหัวอธิการบดีและผู้อาวุโส เนื่องในเทศกาลสงกรานต์มหาวิทยาลัยพะเยา ประจำปี 2567” เพื่อสืบสานประเพณีวันสงกรานต์มหาวิทยาลัยพะเยา พร้อมมอบพวงมาลัยเพื่อขอขมา และขอพร เนื่องในโอกาสเทศกาลสงกรานต์ ประจำปี 2567 ณ บริเวณลานสวนหย่อมด้านหลังอาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยพะเยา ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ กองบริการการศึกษา อีกทั้งเป็นการเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เกิดการสื่อสาร ค่านิยมวัฒนธรรมองค์กรที่ดีร่วมกัน โดยมี รักษาการผู้อำนวยการกองบริการการศึกษา หัวหน้างาน และตัวแทนบุคลากรกองบริการการศึกษา เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้
วันอังคารที่ 2 เมษายน 2567 กองบริการการศึกษา นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัชระ แลน้อย ผู้ช่วยอธิการบดี พร้อมด้วย ดร.ณัฐพงษ์ พรมวงษ์ หัวหน้างานส่งเสริมสมรรถนะและทักษะการทำงาน รักษาการผู้อำนวยการกองบริการการศึกษา นายประกิจพันธ์ พัฒนหิรัญธำรง หัวหน้างานงานวิเทศสัมพันธ์ นายวุฒิพงษ์ คำพันธ์ หัวหน้างานพัฒนาระบบสารสนเทศทางวิชาการและบุคลากรกองบริการการศึกษา เข้าร่วมกิจกรรม ถวายพระพรชัยมงคล และลงนามถวายพระพรชัยมงคล เบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ วันที่ 2 เมษายน 2567 ณ ลานอเนกประสงค์ชั้น 1 อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยพะเยา และ ร่วมปลูกต้นดอกคำใต้ จำนวน 169 ต้น ณ บริเวณข้างโรงอาหารอาคารภูกามยาว โดยการเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงความจงรักภักดี และน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์กองบริการการศึกษา ในการเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เกิดการสื่อสารค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กรที่ดีร่วมกัน
วันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2567 เวลา 13.00 น. รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชลธิดา เทพหินลัพ มอบหมายให้ ผู้ช่วยอธิการบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัชระ แลน้อย พร้อมด้วย หัวหน้างานทะเบียนนิสิต หัวหน้างานพัฒนาหลักสูตร หัวหน้างานสนับสนุนวิชาการ หัวหน้างานวิเทศสัมพันธ์ หัวหน้างานพัฒนาระบบสารสนเทศทางวิชาการ หัวหน้างานธุรการหัวหน้างานรับเข้า และบุคลากรกองบริการการศึกษา ให้การต้อนรับคณะศึกษาดูงานจาก สำนักงานทะเบียนนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำโดย รองผู้อำนวยการฝ่ายยุทธศาสตร์และพัฒนาองค์กร รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงไกร วัฒนาสวัสดิ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายดิจิทัลและนวัตกรรมบริการ ดร.นพธนิษฐ์ โชติสาร หัวหน้างาน และบุคลากร เข้าศึกษาดูงาน “ระบบการให้บริการทางการศึกษาที่สนับสนุนการปฏิบัติงาน” ณ ห้องประชุมชูชาติ กีฬาแปง ตึกสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยพะเยา
วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม 2567 ผู้อำนวยการกองบริการการศึกษา นางสาวกัลวรา ภูมิลา พร้อมด้วยงานวิเทศสัมพันธ์ ได้นำนิสิตทุนพระราชทานภายใต้โครงการพระราชทานความช่วยเหลือแก่ราชอาณาจักรกัมพูชา (ด้านการศึกษา) ตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ปีการศึกษา 2563 ที่ศึกษาในระดับปริญญาตรี จำนวน 2 ราย ได้แก่ Miss Soun Elesha หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ และ Miss Norng Savita หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ เข้าพบอธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา รองศาสตราจารย์ ดร.สุภกร พงศบางโพธิ์ และรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชลธิดา เทพหินลัพ เพื่อรับฟังปัจฉิมโอวาทเนื่องในโอกาสสำเร็จการศึกษาและจะเดินทางกลับภูมิลำเนา (ราชอาณาจักรกัมพูชา) ณ ห้องประชุมห้องอธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา ชั้น 2 อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยพะเยา ในการนี้ อธิการบดี ได้กล่าวแสดงความยินดีแก่นิสิตดังกล่าวที่สำเร็จการศึกษา และขอให้นำความรู้ที่ได้เล่าเรียนมากลับไปพัฒนาประเทศชาติต่อไป
ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยพะเยา ได้ทูลเกล้าถวายทุนดังกล่าวมาตั้งแต่ปี 2555 จนถึงปัจจุบัน นับเป็นเวลา 13 ปี และมีบัณฑิตชาวกัมพูชาของมหาวิทยาลัยพะเยาได้สำเร็จการศึกษา และเดินทางกลับไปพัฒนาประเทศของตนเองแล้ว 54 คน