banner
หน้าหลัก
เกี่ยวกับเรา
ประวัติหน่วยงาน
ประวัติหน่วยงาน
"กองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา"
กองบริการการศึกษา (กบศ.)
มหาวิทยาลัยพะเยา
  • 2542
    กองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา เมื่อครั้งยังเป็นมหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาเขตสารสนเทศพะเยา (ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542) ใช้ชื่อว่า ส่วนงานวิชาการ ตั้งอยู่ ณ อาคารสำนักงานอธิการบดี เลขที่ 19 หมู่ 2 ตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ในปี พ.ศ. 2544 ได้แยกหน่วยงานย่อยออกเป็น 3 หน่วย ดังนี้:
    1. หน่วยธุรการ
    2. หน่วยทะเบียนและประมวลผล
    3. หน่วยส่งเสริมและพัฒนาวิชาการ
  • 2545
    ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 ได้แยกหน่วยงานย่อยออกเป็น 5 หน่วยดังนี้:
    1. หน่วยธุรการ
    2. หน่วยทะเบียนและประมวลผล
    3. หน่วยส่งเสริมและพัฒนาวิชาการ
    4. หน่วยรับเข้า
    5. หน่วยวิเทศสัมพันธ์
  • 2553
    หลังจากนั้น เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดชได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยพะเยา พ.ศ. 2553 ขึ้นและประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 จึงถือได้ว่า มหาวิทยาลัยพะเยา ได้แยกออกจากมหาวิทยาลัยนเรศวร อย่างเต็มรูปแบบ ส่วนงานวิชาการ จึงได้รับการยกฐานะเป็น กองบริการการศึกษา ภายใต้โครงสร้างการบริหารกองบริการการศึกษา รวมทั้งสิ้น 6 งาน ดังนี้:
    1. งานธุรการ
    2. งานพัฒนาหลักสูตร
    3. งานรับเข้า
    4. งานทะเบียนนิสิตและประมวลผล
    5. งานสนับสนุนวิชาการ
    6. งานวิเทศสัมพันธ์
  • 2556
    ต่อมาในปี พ.ศ. 2556 มหาวิทยาลัยพะเยาได้อนุมัติให้เปลี่ยนชื่อ “งานรับเข้า” เป็น “งานรับเข้าศึกษา”:
  • 2557
    หลังจากนั้น ในปี พ.ศ. 2557 มหาวิทยาลัยพะเยาได้อนุมัติให้ปรับโครงสร้างการบริหารกองบริการการศึกษา ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยพะเยา ครั้งที่ 75(9/2557) ระเบียบวาระที่ 4.2 โดยอนุมัติให้รับบุคลากรจาก โครงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ มาปฏิบัติงานในกองบริการการศึกษา จึงทำให้โครงสร้างการบริหารกองบริการการศึกษา แบ่งออกเป็น 7 งาน ดังนี้:
    1. งานธุรการ
    2. งานพัฒนาหลักสูตร
    3. งานรับเข้าศึกษา
    4. งานทะเบียนนิสิตและประมวลผล
    5. งานสนับสนุนวิชาการ
    6. งานวิเทศสัมพันธ์
    7. งานส่งเสริมนวัตกรรมและพัฒนาการจัดการเรียนการสอน
  • 2562
    หลังจากนั้น ในปี พ.ศ.2562 มหาวิทยาลัยพะเยา ได้รับอนุมัติให้ปรับโครงสร้างการบริหารงาน กองบริการการศึกษา ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร มหาวิทยาลัยพะเยา ครั้งที่ 9/2562 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 ระเบียบวาระที่ 6.2.24 เรื่อง ขออนุมัติโครงสร้างการบริหารงาน ของกองบริการการศึกษา โดยอนุมัติการโอนย้ายงานวิเทศสัมพันธ์ ไปสังกัดกองกลาง อนุมัติการโอนย้ายงานส่งเสริมนวัตกรรมและการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน ไปสังกัดศูนย์บริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเปลี่ยนชื่อเป็น “งานผลิตสื่อวัตกรรม” อนุมัติการเปลี่ยนชื่องานทะเบียนนิสิตและประมวลผล เป็น “งานทะเบียนนิสิต” อนุมัติการเพิ่ม งานพัฒนาระบบสารสนเทศทางวิชาการเห็นชอบให้รวมงานพัฒนาระบบคุณภาพและงานส่งเสริมงานสารสนเทศด้านการประกันคุณภาพการศึกษา และเปลี่ยนชื่อเป็น “งานประกันคุณภาพ” จึงทำให้โครงการบริหารงานกองบริการการศึกษา แบ่งออกเป็น 7 งานดังนี้:
    1. งานธุรการ
    2. งานพัฒนาหลักสูตร
    3. งานรับเข้าศึกษา
    4. งานสนับสนุนวิชาการ
    5. งานทะเบียนนิสิต
    6. งานพัฒนาระบบสารสนเทศทางวิชาการ
    7. งานประกันคุณภาพ
  • 2563
    มหาวิทยาลัยพะเยาได้ปรับโครงสร้างการบริหารงาน และได้โอนย้ายกำลังคนของของงานวิเทศสัมพันธ์ไปยังกองบริการการศึกษา จำนวน 4 อัตรา ได้แก่:
    นายประกิจพันธ์ พัฒนหิรัญธำรง
    นางสาววรรณา เสริมสุข
    นายพีรพงษ์ กีรติศักดิ์วรกุล
    นางสาวธาราทิพย์ สูงขาว
  • 2565
    พ.ศ. 2565 มหาวิทยาลัยได้ประกาศเปลี่ยนแปลงชื่อหน่วยงานย่อย ระดับงานภายใน กองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา พ.ศ. 2565 จากเดิม งานประกันคุณภาพการศึกษา เป็น งานส่งเสริมสมรรถนะและทักษะการทำงาน รวมทั้งเปลี่ยนชื่อตำแหน่ง “หัวหน้างานประกันคุณภาพการศึกษา” เป็น “งานส่งเสริมสมรรถนะและทักษะการทำงาน” ตามประกาศมหาวิทยาลัยพะเยา เรื่อง เปลี่ยนชื่อหน่วยงานย่อย ระดับงาน ภายในกองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา ประกาศ ณ วันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2565 ซึ่งผลมีให้งานประกันคุณภาพการศึกษา ได้โอนย้ายสังกัดไปยัง สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยพะเยา และได้โอนย้ายบุคลากรจำนวน 4 อัตรา ได้แก่:
    นางสาวรัตนา จุมปา
    นางนงลักษณ์ คล้ายอ่ำ
    นางกรณิการ์ วงศ์หลวง
    นางสาวสุทธินี ศักดิ์สูง
  • At Present
    กองบริการการศึกษามีโครงสร้างการบริหารงานแบ่งออกได้แก่:
    1. งานธุรการ
    2. งานพัฒนาหลักสูตร
    3. งานรับเข้าศึกษา
    4. งานทะเบียนนิสิต
    5. งานสนับสนุนวิชาการ
    6. งานพัฒนาระบบสารสนเทศทางวิชาการ
    7. งานส่งเสริมสมรรถนะและทักษะการทำงาน
    8. งานวิเทศสัมพันธ์