: 19

เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2568 เวลา 09.00–12.00 น. มหาวิทยาลัยพะเยา นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุภกร พงศบางโพธิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา ให้การต้อนรับคณะผู้บริหารระดับสูงจาก มหาวิทยาลัย Nanhua (Nanhua University) ไต้หวัน ซึ่งเดินทางมาเยือนอย่างเป็นทางการ ณ ห้องประชุมบวร รัตนประสิทธิ์ อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยพะเยา
คณะผู้แทนจาก Nanhua University นำโดย
• ศาสตราจารย์ ดร. Yueh-Chiao Yeh รองอธิการบดีพร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูง ได้แก่
• รองศาสตราจารย์ ดร. Yu-Te Kuo ผู้อำนวยการบริหารสำนักงานการเรียนการสอนสองภาษา และคณบดีคณะภาษาต่างประเทศและวรรณคดี
• รองศาสตราจารย์ ดร. Chun-Chun Lin อาจารย์ประจำภาควิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ และคณบดีสำนักงานวิเทศสัมพันธ์
• ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. Hsiu-Chu Lu รองหัวหน้าภาควิชาการศึกษาปฐมวัย
• ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. Tien-Hsiang Huang อาจารย์ประจำภาควิชาสถาปัตยกรรมและการออกแบบภูมิสถาปัตย์
• ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. Yi-Jie Liao อาจารย์ประจำหลักสูตรปริญญาโทด้านเทคโนโลยีสีเขียวเพื่อความยั่งยืน รวมถึงเจ้าหน้าที่โครงการ USR ได้แก่
• Ms. Ruey-Yun Tsai, Ms. Pei-Hsuan Huang, และ Ms. Hsin Chen
การเยือนในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกระชับความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้น และขยายความร่วมมือด้านวิชาการในระดับนานาชาติ ภายใต้กรอบบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) ที่ได้ลงนามร่วมกันเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2567 ในโอกาสนี้ ทั้งสองฝ่ายได้หารือแนวทางการดำเนินกิจกรรมร่วมกันในอนาคต อาทิ การแลกเปลี่ยนนนิสิตและบุคลากร, ความร่วมมือในการพัฒนาหลักสูตร, การจัดกิจกรรมด้านการออกแบบ นวัตกรรม เทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืน และการศึกษาปฐมวัย รวมถึงการเชื่อมโยงการดำเนินงานด้าน University Social Responsibility (USR) และ Regional Revitalization ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยพะเยาและ Nanhua University ได้ร่วมดำเนินกิจกรรมวิชาการและวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง เช่น การเยือนของคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยพะเยา ณ Nanhua University เมื่อเดือนพฤษภาคม 2567, การเข้าส่งนิสิตของมหาวิทยาลัยพะเยาเข้าร่วมกิจกรรม Design Thinking Workshop ณ Nanhua University ในช่วงเดือน ตุลาคม–พฤศจิกายน 2567ที่ผ่านมา, และการมีส่วนร่วมของคณาจารย์ในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติหลายเวทีในปี 2568 มหาวิทยาลัยพะเยาหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ความร่วมมือระหว่างสองมหาวิทยาลัยจะขยายผลสู่การพัฒนาทางวิชาการที่ยั่งยืน และเป็นต้นแบบของความร่วมมือระดับนานาชาติในภูมิภาคเอเชียตะวันออก


